เมื่อเทคโนโลยีผสมผสานกับงานฝีมือ
วันเมื่อวันที่ 24 ตุลามคม 2563 ที่ผ่านมา เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ ได้จัดกิจกรรม “Ceramics X Digital Fabrication Workshop” ซึ่งพวกเรา MakerStation และ FabLab Bangkok ได้รับเกียรติให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเวิร์คช็อปที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานนี้ด้วย วันนี้จึงอยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน
ผู้ที่มาแบ่งปันความรู้ในเวิร์คช็อปครั้งนี้ คือ อาจารย์โทโด ทาคานาโอะ อาจารย์ชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งไม่เพียงหลงไหลในงานเครื่องปั้นดินเผาเท่านั้น แต่ยังมีความสนใจในเทคโนโลยีการสร้างงานด้วยระบบดิจิตอล (Digital Fabrication) เป็นอย่างมากอีกด้วย
อาจารย์โทโดได้ทดลองการใช้ Digital Fabrication มาเป็นเทคนิคในการสร้างลวดลายบนชิ้นงานดินเผา ผนวกกับการใช้สีเคลือบที่ช่วยเน้นมิติจากลวดลายที่เกิดขึ้น ทำให้ชิ้นงานมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
ในกระบวนการ Digital Fabrication นั้นทางอาจารย์โทโดได้เคยทดลองมาแล้วทั้ง การใช้ 3D Printing, CNC Milling และ Laser Cutting แต่เนื่องด้วยเข้าใจดีถึงข้อจำกัดทางด้านเวลา ในเวิร์คช็อปครั้งนี้อาจารย์จึงได้เลือกใช้ Laser Cutter ซึ่งสามารถขึ้นแบบได้อย่างรวดเร็ว ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปทุกคนจะได้มีโอกาสทดลองออกแบบได้อย่างอิสระมากขึ้น
อาจารย์ยังได้อธิบายถึงแรงบันดาลใจส่วนตัวในการออกแบบ ว่าที่จริงแล้วการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่นและไทยนั้น มีที่มามาจากประเทศจีนเหมือนกัน แต่ปัจจุบันการออกแบบได้รับอิทธิพลจากบริบทของวัฒนธรรมของแต่ละประเทศจนทำให้ดูแตกต่างกัน แต่ถ้ามองใหลึกลงแล้วเรายังสามารถมองเห็นความเชื่อมโยง และนำการออกแบบของทั้งสองฝั่งมารวมเข้าด้วยกันได้ในบริบทใหม่ ๆ
ความตั้งใจของเวิร์คช็อปนี้คือเปิดโอกาสในศิลปิน และนักออกแบบรุ่นใหม่ ๆ ได้นำเทคนิคการสร้างงานด้วยระบบดิจิทอล มาสร้างสรรค์งานในแบบทีแต่ละคนสนใจ ซึ่งด้านบนเป็นผลงานของผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปแต่ละคน จะเห็นว่ามีความหลากหลายและน่าสนใจไม่แพ้กัน
พวกเรา MakerStation ก็ได้มีโอกาสอธิบาย และสาธิตการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ใน MakerSpace ของพวกเรา และได้ตอบคำถามที่น่าสนใจหลาย ๆ คำถาม
ทุกคนเต้นกันใหญ่ในขณะกำลังรอเครื่องเลเซอร์คัตเตอร์ตัดชิ้นงานที่ตัวเองเพิ่งออกแบบมาสด ๆ ร้อน ๆ และนี่แหละครับคือเสน่ห์ของงาน Digital Fabrication ซึ่งทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับการออกแบบ แล้วปล่อยเรื่องยุ่งยากบางอย่างให้เครื่องทำ แบบนี้เราจะสามารถพัฒนาแบบของเราได้อย่างรวดเร็ว
ในวันถัดมา ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปจึงได้นำเอาแม่พิมพ์ที่ได้จากเลเซอร์คัตเตอร์ไปใช้ขึ้นรูปบนดินปั้น ที่ Bangkok Ceramics and Pottery Club ทำให้งานที่ได้มีลวดลายที่สวยงามอย่างที่เห็น
สุดท้ายต้องขอขอบคุณ Japan Foundation, Bangkok และอาจารย์โทโดอีกครั้งที่ให้โอกาสเราได้ร่วมงานกัน เราเองก็ได้รับแรงบันดาลใจจากทั้งอาจารย์และผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปที่มาเข้าร่วมงานกันอย่างสนุกสนาน
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากรู้ว่าผลงานสุดท้ายจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ใน Facebook ของ Japan Foundation, Bangkok และถ้าสนใจใน Digital Fabrication แบบนี้ อย่าลืมติดตามพวกเราดกันด้วยนะครับ