เส้นทางสู่ 100,000 Original Prusa 3D Printers

ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Prusa ได้เผยแพร่วิดีโอผ่านทาง youtube : Prusa 3D by Josef Prusa เรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างแบรด์ 3D printers จากจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้คิดเรื่องธุรกิจเลย มีแต่ความชอบและความอยากรู้อยากเห็นของสองพี่น้องพรูช่า (Prusa) เท่านั้น

พวกเราที่ MakerStaion ดูแล้วก็ได้รับแรงบันดาลใจกันมาก เราเข้าใจดีว่า ความสำเร็จของแต่ละคนเป็นเรื่องที่ประกอบไปด้วยปัจจัยมากมาย เลียนแบบกันไม่ได้ แต่อย่างน้อยมันทำให้เราเกิดคำถาม และสมมุติฐานใหม่ๆ เกี่ยวกับเส้นทางของ Maker

วันนี้ผมจึงอยากมาเขียนสรุปเรื่องราวที่ได้จากวีดีโอนี้ครับ

มันเริ่มจากอะไรที่ “ไม่ใช่” เลย 

โจเซฟ (Josef) และ พี่ชาย ไมเคิล เริ่มจากการเป็นดีเจสมัยเรียน เริ่มอยากทำปุ่มหมุนเอง มองหาวิธีอยู่นาน ก็มาเจอโปรเจค Reprap ที่มีแนวคิดในการใช้  3D Printer พิมพ์ 3D Printer เอง พวกเขาจึงเริ่มทำเครื่องของพวกเขาเองบ้าง

เรื่องมันเริ่มจากคนธรรมดา เรียนมหาลัยธรรมดา ที่แค่อยากลองทำของใช้เอง

นิสัย Maker 

พอเริ่มลองทำก็เจอปัญหา มันไม่ได้ประกอบง่ายขนาดนั้น เขาเริ่มปรับปรุงและพัฒนาแบบของเขาเอง และเนื่องจาก Reprap มันเเป็น Open source อยู่แล้ว พอ Prasa ได้ทางแก้ที่ดีกว่าเดิม เขาก็ แชร์มันกลับไปสู่ชุมชน Maker การทำแบบนี้ทำให้ได้รับความคิดเห็นจากคนในชุมชนและเกิดการพัฒนาแบบได้อย่างรวดเร็ว

จากต้นแบบ สู่สินค้า 

สินค้าที่ Prusa เริ่มขายจริงๆ คือฐานพิมพ์ที่ให้ความร้อนได้ (PCB Heatbed MK1) เพื่อให้พิมพ์ ABS ได้ง่ายขึ้น เขาเริ่มพัฒนามันด้วยลวดต้านทาน และแผ่นอะคริลิค ซึ่งพิสูจน์ว่ามันเป็นแนวคิดที่ใช้ได้ ค่อยๆทำค่อยๆแก้พอมันดีพอมันก็เป็นสินค้าได้

อะไรที่ “Work” มันก็ขายได้ 

Prusa เริ่มได้รับคำขอให้ช่วยพิมพ์ชิ้นส่วนที่เขาออกแบบทำไปทำมาเริ่มพิมพ์ขายไม่ทัน Prusa แค่ต้องพิมพ์เครื่องพิมพ์เพิ่มจากหนึ่งเครื่องกลายเป็นสอง และนี้แหละคือความทรงพลังของแนวคิด Reprap

นอกจากนั้นเขายังจัด Workshop ให้คนมาประกอบเครื่องอีกด้วย

พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ในขณะที่เริ่มมีคนสั่งของเข้ามา Prusa ก็ยังคงทดลองและพัฒนาเครื่องพิมพ์ของเขาต่อไป แถมยังอัพเดทความคืบหน้าให้ชุมชนทุกสัปดาห์ จนในที่สุด ในปี 2012 สองพี่น้องก็ได้ตั้งบริษัทขึ้นมา ชื่อว่า Prusa Research

บ้านๆ แต่งานเยอะ 

ในช่วงเริ่มต้นของบริษัท Prusa มีพนักงานแค่ 1 คน มีเครื่องพิมพ์ 5 เครื่อง (ตั้งชื่อให้แต่ละเครื่องด้วยนะ) รับสั่งของแค่ทางโทรศัพท์และอีเมล ตอนแรกๆถ้ามีเพื่อนสั่งของ เขาส่งของใส่กล่องพิซซ่าด้วยซ้ำ!

บางทีจุดเริ่มต้นของบริษัทใหญ่ๆ ก็เริ่มจากแค่นี้ ที่สำคัญคือการลงมือทำ และปรับตัวให้ทัน

ย้ายบ้าน!

ในที่สุดในปี 2014 บริษัทก็ย้ายจากห้องใต้ดินในแฟลตเล็กๆ ไปอยู่ในอาคารห่างไปไม่กี่ซอย และ รับเลี้ยง Buddy มาเป็นหมาประจำบริษัท (มีสติ๊กเกอร์รูป Buddy แถมมาในกล่องเสมอ)

ห้องใต้ดินที่มีหน้าต่างติดกับทางเท้าเลย ทำให้เวลารถมารับของ เขาแค่ต้องยื่นมันผ่านมาทางหน้าต่างเท่านั้น สิ่งที่มีเมื่อตอนเริ่มต้น แทนที่จะเป็นอุปสรรคแต่มันกลับเป็นทางออกที่น่าสนใจ 

เติบโตแบบก้าวกระโดด 

ในเดือนมิถุนายน 2015 Prusa i3MK1 เริ่มออกขาย พอถึงเดือน กันยายน 2015 Prusa เริ่มขายเครื่องได้ กว่า 100 เครื่องต่อเดือน และเครื่อง Prusa i3 กลายเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก

Print farmขยายเป็น 40 เครื่อง พนักงานเพิ่ม จาก 15 คนเป็น 30 คน และ ในเดือน มีนาคม 2016 เครื่อง i3MK1 เริ่มมียอดขายเดือนละ 500 ตัว

ในเดือน พฤษภาคม เริ่มขาย Prusa i3MK2 ซึ่งเป็นเครื่องที่ได้รับรางวัลจากหลายเวที และมียอดขายอันดับหนึ่งในเวลานั้น

และสุดท้ายตึกหลังที่สองก็เล็กไปเสียแล้ว นั่นทำให้เข้าต้องย้ายอีกครั้ง

https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
ทำไม่ทัน! 

ถือเป็นปัญหาน่าสงซ้านน่าสงสาร Prusa พยายามเติบโตให้ทันกับความต้องการของตลาด แต่อย่างไรก็ดี ทุกครั้งที่ออกสินค้ารุ่นไหม ก็ไม่เคยมีสักครั้งที่ผลิตสินค้าทัน บางครั้งต้องรอถึงสองสามเดือน แต่ลูกค้าก็ไม่ลดลงเลย

นี่คือผลพวงจากการที่สินค้าที่มัน Work จริงๆ และ รูปแบบธุรกิจที่ปรับตัวตามตลาดได้อย่างรวดเร็ว 

https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
ถึงเวลาตั้งโรงงาน! 

ปัจจุบัน Prusa ย้ายมาอยู่ในอาคารสูง 9 ชั้น ที่ตอนแรกไม่นึกไม่ฝันเลยว่า จะใช้ที่ยังไงหมด บริษัทแห่งใหม่นี้เริ่มต้นด้วยการตั้งเครื่อง i3MK2 200 เครื่องเพื่อผลิตสินค้า

จนถึงจุดนี้ Prusa ออกแบบมันเองทุกอย่าง ตั้งแต่ ฮาร์ดแวร์ อิเล็คทรอนิค ซอฟต์แวร์ การตั้งค่าการพิมพ์ และแม้แต่ระบบปฏิบัติการของเครื่อง แต่ยังมีเหลืออีกอย่างนึงที่เป็นตัวควบคุมคุณภาพของสินค้า นั้นคือ

 Filament 

ในเมื่อจะนั่งรอให้ผู้ผลิดวัสดุพัฒนาก็คงไม่ได้ ผลิตเองเลยละกัน เดือนสิงหาคมปี 2017 Prusa ลงทุนซื้อเครื่องผลิตเส้นพลาสติกเป็นเครื่องแรก

https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
โรงงานใหม่ พร้อมชัวร์! 

ตอนแรกก็คงคิดอย่างนั้น แต่พอ Prusa เปิดตัว Prusa i3MK3 ในเดือนกันยายน ปี 2017 เท่านั้นแหละ ทำไม่ทันเหมือนเดิม

ในเดือนตุลาคม 2017 ยอดขายเครื่องมีมากถึง 5,000 เครื่อง และบริษัทมีพักงานเพิ่มเป็น 170 คน Prusa กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่โตเร็วเป็นอันดับ 3 ของยุโรป (ปัจจุบันเป็นอันดับ 1 แล้ว)

ในเดือน มีนาคม 2018 โรงงานขยายการผลิตจนมีเครื่องพิมพ์ 300 เครื่อง (ปัจจุบันมีมากกว่า 500 เครื่อง)

https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
อัพเกรดได้ตลอด 

เครื่องพิมพ์ของ Prusa ออกแบบมาโดยคำนึงถึงคนที่ซื้อไปก่อนแล้ว เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ออกรุ่นใหม่ Prusa จะออกชุดอัพเกรดมาให้สำหรับคนใช้รุ่นเก่าซื้อไปอัพเกรดเครื่องเก่าได้ โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ ช่วยประหยัดไปเยอะ

https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
ความฝันที่อยากได้มานาน 

จากการที่ตอนเด็กๆหาเครื่องมือและที่ทางทำงานในเมืองได้ยาก Prusa จึงใช้เวลาหลายเดือนจัดการชั้นหนึ่งของอาคาร ให้กลายเป็น Prusa Lab ซึ่งคือ MakerSpace ที่มีเครื่องมือครบครันที่เริ่มเปิดให้คนในชุมชนเข้ามาให้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2018

 Prague Maker Faire 

Prusa ยังเป็นหุ้นส่วนหลักที่ทำให้เกิด งาน Maker Faire ที่ Prague อีกด้วย

https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
จนถึงวันนี้….. 
  • มีพนักงาน 300 คน
  • ต้องขยายโกดังไม่เช่าตึกข้างๆ
  • Prusa ส่งเยลลี่รูปหมีไปพร้อมกับชุด kit เพื่อให้คนเอาไว้กินเล่น ระหว่างประกอบ รวมๆกันแล้วกว่า 16 ตัน
  • ปลายปี 2018 มีเครื่องพิมพ์ในโรงงานกว่า 500 เครื่อง
  • ตั้งแต่ตุลาคม ปี 2018 มีการส่งสินค้าจากโรงงานกว่า 1,000 กล่อง/วัน รวมถึงอะไหล่และเส้นวัสดุ
  • สินค้าถูกส่งไปมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก
  • Prusa ออกแบบและพิมพ์เครื่องมือในการทดสอบส่วนประกอบทุกชิ้นของเครื่องพิมพ์ก่อนส่ง
https://3dprint.com/162140/3d-hubs-industry-trends-report/
สรุป 

ผมเชื่อว่าความเสร็จใดๆไม่ใช่แค่โชคหรือจังหวะเวลาอย่างเดียว สิ่งที่ทำให้ Prusa เป็นบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วคือคุณลักษณะของตัวเจ้าของ ผนวกกับเทคโนโลยีที่มันเอื้ออำนวย ปัจจัยเช่น

  • ความตระตื้อรือร้น ขยันหาทางแก้ ขยันแชร์ ขยันพัฒนา
  • สไตล์การทำตลาดแบบลุยๆ มันๆ แบ่งปัน ไม่คิดมาก เรียกได้ว่านี้เป็นการทำตลาดแบบ CEO Marketing ที่คนไม่ใช่เพียงซื้อเพราะเครื่องมันดีอย่างเดียว เพราะเรารู้จัก Prusa ด้วย
  • ในรูปการผลิตเดิมๆ มันมักจะมีภาวะขาดสภาพคล่อง เจ้าของรู้ว่ามีคนต้องการสินค้าแล้วแต่ไม่มีเงินลงทุนกับการผลิตและเก็บสต๊อก แต่ธุรกิจของ Prusa โตได้ทีละเครื่องสองเครื่อง ยิ่งโตต้นทุนการผลิตยิ่งถูก ยกตัวอย่าง สมมุติมี 1 เครื่อง ผลิตได้ 1 ชิ้นต่อชัวโมง ถ้ามี 2 เครื่องเท่ากับผลิตได้ 2 ชิ้นต่อชั่วโมง และแทบไม่ต้องเก็บสต๊อกสินค้าเลย เก็บแค่วัสดุซึ่งปัจจุบันผลิตวัสดุใช้เองอีกต่างหาก
  • สิ่งที่เขาขาย คือส่งที่ใช้ผลิต! ซึ่งทำให้มีข้อได้เปรียบหลายอย่าง
    • เครื่องรุ่นใหม่ได้รับการทดสอบอย่างหนักภายในโรงงานก่อนจะเริ่มวางขาย ซึ่งพิมพ์กันทั้งวันทั้งคึน นั่นทำให้การทดสอบและพัฒนาต้นแบบเป็นไปได้เร็วขึ้นอีก
    • คุณมีอำนาจการผลิต ที่ช่วยเพิ่มอำนาจการผลิต ยิ่งผลิตได้เยอะยิ่งผลิตได้เยอะเป็นทวีคูณ
  • อย่าลืมนะครับ ว่าไอเดียมันแก้ง่ายกว่าเครื่องเยอะ โรงงานนี้ไม่ต้องทำแม่พิมพ์ ไม่มีขีดจำกัดของการผลิตจำนวนมาก จะเปลี่ยนแบบกี่ครั้ง ก็ใช้เครื่องเดิม ขีดจำกัดจริงๆ มันเลยอยู่ที่วิธีคิดเสียมากกว่า และด้วยธุรกิจที่เติบโตในชุมชน Maker ที่รักการแบ่งปัน มันไม่ยากเลยที่จะทำสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  • จีนทำขายเต็มเลย ทำไม Prusa ยังโตได้? ผมว่าเหตุผลสำคัญเพราะถึงแม้จะเป็น Open Source แต่ Prusa ก็คงมีกั๊กๆไว้บ้างแหละ และเนื่องจากเขาผลิตและพัฒนาเองทั้งหมด ตั้งแต่ซอฟต์แสร์ยันฮาร์ดแวร์ มันเลยไม่ได้ลอกเลียนแบบกันง่ายๆ
แล้วมันมีประโยชน์กับเราอย่างไร? 

อย่างที่บอกไปตอนต้นครับว่า เราคงไม่สามารถลอกเลียนแบบความสำเร็จของใครได้ แต่เราเรียนรู้จากมันได้ ผมเชื่อว่าเท่าที่กล่าวมาคงจะพอมีข้อคิดอะไรที่เราสามารถเอาไปปรับใช้ได้อยู่ไม่น้อย เรามาช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกันนะครับ

MAKER

Industrial Designer / Maker
The “Master Maker”

“เราเลือกได้เสมอ
ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
หรือเป็นส่วนหนึงของทางแก้”

Share this

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest

เนื้อหาอื่นๆ

Precious Plastic

Precious Plastic : โครงการรีไซเคิลพลาสติกที่เท่ที่สุดในโลก

Movement ของเหล่า maker ที่พัฒนาเครื่องรีไซเคิลพลาสติกที่สามารถใช้ในบ้านหรือชุมชนได้ แจกแบบกันฟรีๆเพื่อให้สร้างประกอบใช้เอง

Read More »

แสดงความคิดเห็น