[Mitr Phol] Prototype box

[MITR PHOL] PROTOTYPE BOX

ภารกิจออกแบบและสร้างกล่องบรรจุอุปกรณ์สำคัญที่ควบคุมระบบเครื่องจักร

โจทย์ของโปรเจคนี้คือการทำกล่องสำหรับใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถปกป้องอุปกรณ์จากสภาพแวดล้อมและจากการขนส่ง แต่ยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปรกณ์ภายนอกอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย

ความท้าทายของงานนี้ คือการออกแบบให้ผู้ใช้ ยังคงสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นได้อย่างสะดวก แม้จะเชื่อมต่อสายไฟทุกเส้นเข้ากับอุปกรณ์แล้วก็ตาม งานนี้ต้องอาศัยทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์และพฤติกรรมของผู้ใช้งานเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อผู้ใช้และยังอุปกรณ์ยังทำงานได้ปกติ อุปกรณ์แต่ละชิ้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งอย่างมั่นคงได้ทุกชิ้น เราจึงต้องทำการออกแบบที่ยึดเฉพาะของแต่ละอุปกรณ์ให้มีความมั่นคง

สรุปคุณสมบัติของงานที่ต้องการ
  • ปกป้องอุปกรณ์ภายในจากฝุ่นละอองภายนอก
  • สะดวกในการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่ภายนอก
  • มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทาง
  • ผู้ใช้สามารถใช้ และ บำรุงรักษาได้ง่าย
  • ไม่มีส่วนที่ขยับได้เมื่อขนส่ง
ตัวอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องติดตั้งในกล่อง
การออกแบบ (DESIGN)

ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเปิดเผยส่วนประกอบทั้งหมดของโปรเจคนี้ได้ แต่จะเห็นได้จากภาพว่ามีส่วนประกอบหลากหลายที่ต้องต่อเข้าด้วยกัน เราจึงได้แบ่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องอยู่ในกล่องเป็นสามชุด ตามลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ ได้แก่

ส่วนต่อกับอุปกรณ์ภายนอก

เราออกแบบแผ่นที่สามารถยึดตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกทั้งหมดไว้ในช่อง โดยที่ช่องเสียบนี้ลึกมากพอที่จะปกป้องตัวเชื่อต่อต่าง ๆ ไม่ให้ถูกชนเสียหายได้ง่าย และยังช่วยจัดสายไฟให้เป็นระเบียบและสะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถถอดออกได้ง่ายเพื่อการดูแลรักษา (Maintenance)

ส่วนจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ทั้งระบบ

ประกอบด้วยตัวแปลงไฟ (Adapter) จำนวน 2 ตัว เราออกแบบตัวยึดให้ทั้งสองสามารถวางซ้อนกันเพื่อประหยัดพื้นที่ และมีช่องว่างเพื่อระบายความร้อน และสามารถถอดแยกออกจากกันได้อย่างสะดวก ในกรณีที่ต้องการดูแลรักษา (Maintenance) เฉพาะส่วน

ส่วนชุดควบคุมหลัก

เราออกแบบให้อุปกรณ์ทั้งสามซ้อนกัน ตามขนาดและลักษณะการใช้งาน เพื่อประหยัดพื้นที่ และระหว่างอุปกรณ์ทั้งสาม มีช่องว่างเพื่อระบายความร้อน และยังทำให้คนที่มาใช้ สามารถเอื้อมมือเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ง่าย

สามารถถอดแยกออกจากกันได้อย่างสะดวก ในกรณีที่ต้องการดูแลรักษา(Maintenance) เฉพาะส่วน

ลักษณะการวางอุปกรณ์เมื่ออยู่ภายในกล่อง
(Component Layout)

การสร้าง (PRODACUTION)

เราผลิตชิ้นส่วนที่ออกแบบด้วยวิธีการผลิตแบบดิจิตอล (Digital Fabrication) ได้แก่ เทคนิคการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) และเทคนิคการตัดวัสดุด้วยเลเซอร์ (Laser cutting) เพื่อยึดอุปกรณ์ให้เป็นชุดและเหมาะกับการใช้งาน

นำชุดควบคุมหลัก ชุดปลั้กไฟและส่วนประกอบต่าง ๆ ติดลงในกล่องโดยจัดวางตามลักษณะการใช้งาน

เจาะด้านข้างของกล่องเป็นช่องเพื่อติดชุดที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ลดจุดที่ต้องยื่นออกมานอกกล่องเพื่อไม่ให้ขนาดโดยรวมใหญ่ไป

เดินสายไฟของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย พร้อมทดสอบการใช้งาน และเลี่ยงส่วนที่ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้

ติดหูหิ้วเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถยกกล่องได้อย่างสะดวก

เพิ่มที่เก็บเสาอากาศให้เหมาะกับการขนส่ง

รายละเอียดเพิ่มเติมของชิ้นงาน

ผลงานที่สำเร็จ

นับว่าเป็นโปรเจคที่ท้าทายอีกหนึ่งโปรเจค ต้องขอขอบคุณศูนย์นวัตกรรมกลุ่มมิตรผลที่ไว้ใจให้เราได้มีโอกาสออกแบบและสร้าง [MitrPhol] Prototype box นี้ เราหวังว่าผลงานของเราจะได้มีส่วนช่วยให้ทางมิตรผลสามารถแก้ปัญหาและสร้างผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปครับ

ถ้าคุณมีไอเดียที่อยากให้เป็นจริง เราอาจช่วยคุณได้

Industrial Designer / Maker
The “Master Maker”

“เราเลือกได้เสมอ
ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
หรือเป็นส่วนหนึงของทางแก้”

Project Manager

“Plans Are Worthless,
But Planning Is Everything”

Sculptor, Artist,
Researcher, Designer, Maker

“I put my heart and soul into my work,
and I have lost my mind in the process.”

Share this

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest

เนื้อหาอื่นๆ

Precious Plastic

Precious Plastic : โครงการรีไซเคิลพลาสติกที่เท่ที่สุดในโลก

Movement ของเหล่า maker ที่พัฒนาเครื่องรีไซเคิลพลาสติกที่สามารถใช้ในบ้านหรือชุมชนได้ แจกแบบกันฟรีๆเพื่อให้สร้างประกอบใช้เอง

Read More »

แสดงความคิดเห็น