อย่างที่ผมได้เคยรีวิวไป โต๊ะเลื่อยมากิต้าตัวนี้ มีข้อดีมากมาย แต่ข้อเสียของมันก็ทำให้เราหงุดหงิดอยู่บ้างบางเวลา แต่จะไม่มัวแต่นั่งบ่นคงไม่เกิดประโยชน์อะไร วันนี้ Meplus จึงขอเสนอวิธีปรับปรุงโต๊ะเลื่อยตัวนี้ให้ดีขึ้น ตามแบบฉบับของเราครับ
ข้อเสียหลักๆที่เราจะปรับปรุง จะมีอยู่สามส่วนนะครับ
1.) ส่วน Insert หรือ ฝาปิดช่องใบเลื่อย ที่เดิมทำจากพลาสติก ABS ที่มีการยุบตัวค่อนข้างมากเวลาถูกแรงกด หลายๆคนแก้ปัญหาด้วยการนำแผ่นไม้ที่มีความหนามาเซาะร่องด้านข้างออก เพื้อให้บางพอจะวางบ่นบ่าเดิมที่เอาไว้รับแผ่นพลาสติกได้ แต่วิธีนั้น ผมคิดว่า มันค่อนข้างยุ่งยาก ยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และยังลดความลึกในการตัดของโต๊ะเลื่อยลงอีกด้วย เนื่องจากชุดมอเตอร์ที่เลื่อนขึ้นมาจะติดแผ่นไม้ที่มีความหนาลงไปจาหน้าโต๊ะ มากกว่าแผ่นพลาสติกเดิม
การแก้ไขที่เราทำ คือ เราสั่งแผ่นสแตนเลสหนา 3 มม. ให้มีขนาดเท่ากับแผ่นพลาสติก ABS ที่มีอยู่เดิม ซึ่งสามารถวางลงไปในช่องเดิมได้พอดี ความยากอยู่ที่การผายรูสำหรับสกรูหกตัว ที่ใช้ยึดแผ่นฝากับโต๊ะเลื่อย ทำได้ยากมาก เนื่องจากแผ่นสเตนเลสมีความแข็งมากนั้นเอง แต่วิธีนี้จะทำให้เราสามารถทำซ้ำได้ หลายๆครั้ง และได้แผ่น Insert ที่ทนทานมากๆ
2.) ส่วน Riving Knife ที่อยู่สูงกว่าใบเลื่อยเสมอ สิ่งนี่จะเป็นปัญหาเมื่อคุณต้องการใช้โต๊ะเลื่อยในการเซาะร่องบนหน้าไม้ โดยไม่ได้ตัดทะลุ ชิ้นงานจะไม่สามารถผ่านส่วน Riving Knife ไปได้ และเราจะไม่สามารถใช้ Table Sled หรือรางเลื่อยตัดขวางได้เลย ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากๆสำหรับโต๊ะเลื่อย ถ้าเราต้องการทำจริงๆ เราต้องถอด Riving Knife ออกก่อน ซึ่งในรุ่นนี้จะถอดยาก ใส่ยาก เสี่ยงต่อการลืม หรือขี้เกียจใส่คืน นำมาซึ่งอันตรายในการถูกโต๊ะเลื่อยถีบชิ้นงาน (kick back)อย่างมาก
- การแก้ไขที่เราทำคล้ายกับแผ่น Insert คือ เราสั่งแผ่นสแตนเลสหนา 2 มม. ให้มีขนาดแก้ไขจาก Riving Knife ที่มีอยู่เดิม ซึ่งเมื่อใส่ลงไปแทนอันเดิมแล้ว จะอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดของใบเลื่อยเล็กน้อย ทำให้เราสามารถตัดท่ายากตามที่บอกตอนต้นได้
- ปัญหาของวิธีนี้
- อันที่จริง Riving Knife ควรมีความหนาเท่ากับคลองเลื่อย ซึ่งโดยปกติจะหนากว่า 2 มม.เล็กน้อย แต่การที่เราเลเซอร์มาจากสเตนเลส 2 มม. จะทำให้ได้ Riving Knife ที่บางกว่าใบเลื่อยเล็กน้อย ต้องตั้งให้ Riving Knife เสมอกับฟันใบเลื่อยฝั่งขวา
- เราจะไม่สามารถใส่ชุดการ์ดใบเลื่อยได้
- หลายคนใช้วิธีตัด Riving Knife ให้ตำ่ลง วิธีนั้น จะทำให้เราได้ Riving Knife ที่หนาเท่าเดิม แต่เราจะไม่สามารถใส่การ์ดใบเลื่อยได้อีกเลย
3.) ส่วนสุดท้าย คือ รั้วโกรก ที่เราจะมาปรับปรุงกันในตอนที่ 31 นี้ ผมคิดว่าปัญหาของรั้วที่มากับโต๊ะเลื่อยคือ การให้ตัวทางด้านซ้ายขวา ซึ่งผมสันนิษฐานว่าเกิดจากรั้วอลูมิเนียมนั้นบางจนเกินไป และที่เห็นได้ชัด คือระบบการล็อกรั้วจากด้านหน้าด้านเดียว
แนวทางการปรับปรุง
- ทำรั้วใหม่ให้มีรูปทรงคงตัวมากกว่าเดิม
- ทำรั้วให้ยาวถึงขอบโต๊ะด้านหลัง แล้วติดไม้ขวางด้านล่าง ลักษณะเหมือนไม้ที
วัสดุ
- ไม้ MDF เพราะถือเป็นไม้ที่มีความสะสม่ำเสมอในด้านขนาดและความหนาแน่น และมีผิวที่เรียบเหมาะกับการใช้ทำเป็นรั้วครับ
- หนา 12 มม.
- หนา 6 มม.
- อะคริลิค หนา 15 มม. เพื่อทำหัวไม้ที (ที่ใช้อะคริลิคเพราะสามารถต๊าบเกลียวได้ง่าย)
- กาวติดไม้
- สกรูหัวแบน 5 มม. ยาว 70 มม.
- สกรูหัวจม 6 มม. ยาว 20 มม.
อุปกรณ์
- โต๊ะเลื่อย ที่สามารถตัดไม้ได้ตรงๆ
- ปืนตะปู หรือแคลมป์ก็ได้ แต่ระวังเลื่อนขณะประกอบนะครับ
- เครื่องขัดกระดาษทราย
การออกแบบ
แบบที่ทำออกมานี้ เป็นแบบที่ทำได้ง่าย และคิดจากวัสดุที่มีเหลือๆในช็อป เพื่อนๆสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความสร้างสรรค์ของแต่ละคนเลยนะครับ เราแค่อยากทำไว้เป็นไอเดียเฉยๆ
นอกจากจะเป็นตัวเสริมโครงสร้างแล้ว โครงไม้ MDF ยังทำหน้าที่เป็นช่องใส่ของเล็กๆน้อยได้อีกด้วย
ข้อเสียเดียวที่ผมคิดออกจากการออกแบบนี้ คือ เราจะไม่สามารถเก็บรั้วเข้าไปในช่องเก็ยรั้วข้างโต๊ะได้อีกต่อไป แต่นั้นก็เป็นเรื่องปกติสำหรับโต๊ะเลื่อยขนาดใหญ่ทั่วๆไปครับ
หวังว่าเพื่อนๆคงจะได้ไอเดียกลับไปทำรั้วของตัวเองนะครับ
ใครลองเอาไปทำแล้วก็ส่งรูปผลงานมาแบ่งปันเพื่อนๆคนอื่นดูได้ครับ
MAKER
Industrial Designer / Maker
The “Master Maker”
“เราเลือกได้เสมอ
ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
หรือเป็นส่วนหนึงของทางแก้”