สวัสดีครับทุกคน ผมไปซ์ : Content Manager ของ Makerstation หลังจากห่างหายกันไปนาน ในที่สุดพวกเราก็กลับมาอีกครั้ง พร้อมกับ Content ที่จะมาแชร์เรื่องราวของเหล่า Makers เพราะว่าไปซ์เป็นคนชอบเล่า ไปซ์เลยอาสามาทำหน้าที่นี้ ในซีรี่ย์ MakerUpdate นี้ พวกเราจะมาเล่าให้ฟังว่าพวกเรากำลังทำอะไรกันอยู่ มีของเล่นอะไรใหม่ สมาชิกใหม่ เรื่องที่เราได้เรียนรู้เพิ่ม และเกิดอะไรขึ้นบ้างในวงการ Maker ยังไงก็เชิญติดตามกันนะครับ
AT MAKERSTATION
หลังจาก Covid-19 เริ่มซาลง พวกเราก็กลับมาเปิดให้บริการแล้ว โดยเปิดตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. โดยอาคารที่เราอยู่มีมาตราการรับมือ Covid-19 ตามที่รัฐบาลกำหนด Space ของเราหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปมาก หลังจากวีดิโออัพเดตครั้งก่อน หลายคนคงเห็นแล้วว่าของเล่นใน Space เราเพิ่มขึ้นเยอะแค่ไหนจาก Instagram และ Facebook ของเรา แต่เรื่องนี้ไปซ์ว่าให้พี่ปลื้มเป็นคนพาทัวร์เองดีกว่า รอติดตามพวกเรากันครั้งหน้านะครับ
สำหรับสัปดาห์นี้มีบทความจาก เกดเมล์ท ที่เกี่ยวกับ การจัดการไอเดียที่เกิดขึ้นในหัว แล้วหาทางผลิตออกมาเป็นผลงานให้ได้ พี่เกดเขียนอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ได้ละเอียดมาก ใครที่กำลังเบื่อตัวเองที่มีไอเดียใหม่ ๆ ตลอดแต่ก็ไม่เคยได้ลงมือทำสักที บทความนี้น่าจะตอบโจทย์ครับ
เรื่องเล่า MAKER รอบโลก
สัปดาห์ที่ผ่านมามีงานประกวดออกแบบหุ่นยนต์มาสคอตของนิตยสาร Make ชื่อ Makey โดยมีโจทย์ว่า จะออกแบบยังไงก็ได้แต่ต้องคงเอกลักษณ์ของเจ้า Makey อยู่ แต่งานนี้หมดเขตไปตั้งแต่วันที่ 12 ที่น่าติดตามต่อคือ งานนี้มีรางวัลที่ชื่อว่า Biggest Fail ด้วย น่าสนใจว่าผลงานที่ได้รางวัลนี้จะออกมาเป็นยังไง และรางวัลอื่น ๆ จะหน้าตาแบบไหน มาร่วมติดตามกันนะครับ
เพื่อน ๆ หลายคนชอบสงสัยว่า ทำไมไปซ์ชอบข้ามไปเรียนเรื่องอื่น ๆ นอกสายวิศวะ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ คำตอบคือ ไปซ์ชอบที่ได้ Connect the dot รู้สึกดีที่ได้รู้อะไรใหม่ ๆ และข่าวที่ไปซ์ยกมาต่อไปนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไมเราควรสนใจเรื่องอื่นบ้าง
สำหรับคนที่อยู่ในวงการ Makers มานานอาจจะเคยได้ยินเรื่อง 3D Bioprinting แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบเดี๋ยวไปซ์จะเล่าให้ฟังครับ เคยได้ยินเรื่องการเปลี่ยนอวัยวะกันมั้ยครับ เวลาที่อวัยวะเราพัง ใช้งานไม่ได้ ถ้าไม่ซ่อมมันการเปลี่ยนมันก็เป็นทางออกหนึ่งที่ทำได้ แต่ปัญหาของการเปลี่ยนอวัยวะคือ อวัยวะนั้นที่นำมาเปลี่ยนต้องมีความเข้ากันกับร่างกายของเราด้วย ซึ่งยากมากที่จะหาอวัยวะใหม่ที่ใช่ เหมือนที่เราเห็นในหนังหลาย ๆ เรื่อง ที่มีการขายไต มีการรัดคิวขอก่อน มันยากที่จะหาได้และใช่ ดังนั้น Bioprinting จึงเข้ามาช่วยเรื่องนี้ โดยเอาเซลล์จากร่างกายของเรามาเพาะเลี้ยงแล้วปริ้นเป็นอวัยวะใหม่ เพราะเซลล์ของเราก็ต้องเข้ากันกับร่างกายเราอยู่แล้ว แปลว่าต่อจากนี้ถ้าเรื่องนี้สำเร็จ คนเราก็อาจจะปริ้นอวัยวะตัวเองใหม่ได้เรื่อย ๆ ล่าสุดเริ่มมีการทดลองปริ้นหัวใจขนาดเล็กเท่าหัวใจกระต่ายและเต้นได้จริง แต่ก็ยังมีปัญหาอีกมาก หากใครสนใจติดตามเรื่องนี้สามารถไปดูได้ท่ี All3dp เว็บไซส์นี้จะคอยอัพเดตข่าวของเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทำให้เราติดตามได้ง่าย
การปลูกถ่ายกระดูกด้วยเทคนิค 3D Printing โดยวิธีดั้งเดิมของการรักษาคนไข้ที่มีปัญหากระดูกคือ การปลูกถ่ายกระดูกหรือไม่ก็เอากระดูกคนอื่นมา แต่ปัญหาหลักของวิธีเหล่านี้คือ กระดูกที่ได้จะต้องถูกตัดแต่งให้พอดีกับที่หายไป ซึ่งต้องอาศัยกระดูกที่ใช่เหมือนเรื่องอวัยวะด้านบน และบางครั้งเราต้องยึดกระดูกเหล่านี้ด้วยสกรูหรือตัวยึด รอคอยให้ถึงวันที่กระดูกแข็งแรงพอถึงจะเอาชิ้นส่วนพวกนี้ออกได้ ดังนั้นการปลูกถ่ายกระดูกด้วยแนวคิดของ 3D Print จึงเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันงานวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองก็รอดูกันต่อไป ที่น่าสนใจคือเริ่มมีการทดลองเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำกระดูกเป็นแบบ “Hyperelastic Bone” ซึ่งมีความสามารถในการยืดหยุ่น ลองคิดดูแล้วกันครับว่าจะเกิดออะไรขึ้นได้บ้าง และนอกจากกระดูก หัวใจแล้ว ยังมีการปริ้นตับ ปริ้นหู และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ไว้รอดูกันครับว่าจะมีอะไรอีก
นี่แหละครับ ตัวอย่างของการสนใจอะไรที่หลากหลาย คนที่มีความรู้เรื่องการแพทย์และการขึ้นรูป มันทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์มากขึ้น หรือเราอาจจะไม่ต้องสนใจเองก็ได้แค่ไปทำความรู้จักคนต่างสายแลกเปลี่ยนกันก็อาจทำให้เกิดคำว่า Synergy ก็ได้ ไว้วันหลังจะมาเล่าตัวอย่างเจ๋ง ๆ ให้ฟังอีกนะครับ ใครมีคำถามหรืออยากแชร์อยากแลกเปลี่ยนสามารถเขียนทิ้งไว้ได้เลยนะครับ
แหล่งข่าว : all3dp