17 ขั้นตอนการแก้ปัญหา โดย Adam Savage แห่ง MythBuster

Adam Savage นักทำ Special Effect ผู้มีกระสบการณ์และความรู้รอบด้านและพิธีกรแห่งรายการ MythBusterเขามองว่าทุกอย่างคือการแก้ปัญหาแม้นักวาดภาพนามธรรมก็ยังเริ่มทุกชิ้นงานด้วยการการแก้ปัญหา เช่น จะใช้วิธีอะไรในการทาสี? บนวัสดุอะไร?

และเมื่อเรามุ่งแก้ปัญหาอะไรสักอย่าง เรากำลังมุ่งเข้าหาเป้าหมายอดัมเลยอยากจะแบ่งปันขั้นตอนที่เขาใช้ในการแก้ปัญหาในทุกๆโปรเจคที่เขาทำเขาจะถามตัวเอง ด้วยคำถามเหล่านี้


1. ปัญหาที่เรากะงจะแก้คืออะไร?

ถึงแม้ว่าจะดูเป็นคำถามง่ายๆ แต่คุณต้องมั่นใจจริงๆว่าคุณรู้ว่าคุณกำลังจะแก้ปัญหาอะไร ถ้าคุณได้รับโจทย์มาจากคนอื่น คุณจำเป็นจะต้องเข้าใจมันจริงๆ ไม่อย่างนั้นคุณจะต้องทำมันพังอย่างแน่นอน

2. ภาพรวมคืออะไร?

เขาพบว่าไม่ใช่ทุกคนจะถามคำถามนี้ และเขาอยากที่จะทำงานกับคนที่รู้จักถามคำถามนี้มากกว่า -ปัญหาที่เรากำลังแก้อยู่นี้ มันจะไปอยู่ตรงไหนในภาพรวม? -เรากำลังแก้ปัญหาเดียวที่จบในตัวเองหรือปัญหาที่เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น? -แล้วมันจะไปเกี่ยวกับส่วนอื่นอย่างไร? -คุณมองเห็นภาพรวมได้เลยหรือไม่? คุณต้องมองถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่อย่างนั้น มันจะไม่เกี่ยวกับอะไรเลย


3. มีเวลาเท่าไหร?

ในกรณีของคนทำงาน DIY หรือคนที่ทำโปรเจคส่วนตัวที่เราชอบอย่างอดัม เขามักจะตั้ง deadline ขึ้นมา เขาพบว่าถ้าเขาไม่ขีดเส้นตายเอาไว้เขาจะทำอะไรไม่ค่อยเสร็จ เขาต้องคอยท้าทายตัวเอง คำนวนเวลาที่ใช้ในการทำงานทั้งหมด แล้วตั้งใจกับการไปถึงเป้าหมายเมื่อมีข้อกำหนดเรื่องเวลา


4. เราทำไปถึงไหนแล้ว?

เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของ “เรามีเวลาเท่าไหร?” และ “เราเหลือเวลาเท่าไหร?” หลายครั้งเรารู้ว่าต้องทำงานเสร็จเมื่อไหร่ แต่เราไม่รู้ว่า เราทำได้ถึงไหนแล้ว และนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนให้เรามีประสบการณ์

5. เราต้องทำงานเนี๊ยบขนาดไหน?

เช่นในการเจาะรูบนไม้ให้ห่างกันหกนิ้ว ถ้าเราใช้การกะๆเอาจะใช้เวลาน้อยกว่าการวัดขนาดด้วยไม่บรรทัด ร่างดินสอ แล้วจึงเจาะรูมาก -งานชิ้นนี้ให้คนอื่นดูผ่านๆหรือต้องเห็นรายละเอียดเยอะ? -มันจำเป็นไปประกอบกับส่วนอื่นๆหรือเปล่า?


6. จังหวะในการทำงานของคุณเป็นอย่างไร?

แต่ละคนชอบทำงานใสจังหวะที่ไม่เหมือนกัน เขายกตัวอย่างตัวเอง ว่าเขาชอบทำงานแบบรวดเร็ว ต่อเนื่อง เขาจะเตรียมเครื่องมือและวัสดุต่างๆไว้รอบตัวให้พร้อม ก่อนเริ่มทำโปรเจคใดๆ เขาเกลียดการต้องหยุดทำแล้วเดินไปหาหรือหยิบของบ่อยๆ จังหวะการทำงานเขาเป็นอย่างนั้น เช่นกัน คุณก็ต้องหาจังหวะการทำงานของตัวเองให้เจอ


7. งบประมาณเท่าไหร? คุณควบคุมได้หรือไม่? ใครจ่าย?

ถ้ามันเป็นเงินเรา เราบอกได้หรือไม่ว่าโปรเจคนี้มีค่ากับเราเท่าไหร? อดัมเล่าว่า แรกๆที่เขาทำงาน มีหลายงานมากที่เขารับทำพรอพประกอบหนัง โดยคิดค่าวัสดุแต่ไม่คิดค่าแรง โดยมีข้อแม้ว่า เขาจะขอเก็บชิ้นงานนั้นไว้หลังจากที่ใช้เสร็จ ด้วยการทำแบบนั้น อดัมได้รับความพึงพอใจอย่างมาก

  1. เพราะเขาชอบเก็บของที่เขาสร้างเอง
  2. เพราะถ้าเขารู้ว่าสุดท้ายมันจะเป็นของเขา เขาจะลงทุนลงแรงมากกว่าปกติ
  3. เขาได้คนจ่ายค่าเรียนวิธีที่การทำงานใหม่ๆที่เขาไม่เคยทำ

8. สถานที่ทำงานเป็นแบบไหน?

ที่ทำงานเราเล็กใหญ่แค่ไหน บางครั้งด้วยงบประมาณจำกัด ทำให้เราไม่สามารถเช่าที่ทำงานใหญ่ๆได้ จึงจำเป็นต้องทำงานในที่เล็กๆ แต่เราก็มีเวลาจำกัด  ในเวลาหลายปีที่ทำงาน อดัมได้ในความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น เพราะการทำงานในที่ที่เล็กเกินไปหรือไม่เหมาะกับการทำงานนั้นๆ ทำให้เขาทำงานได้ช้าลงเนื่องจากความไม่สะดวก จนสุดท้ายต้องเสียเงินเพิ่มเพราะความล่าช้า ซึ่งอาจจะแย่กว่าการยอมไปจ่ายค่าสถานที่ที่เหมาะสมกว่าตั้งแต่แรก

9. ดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร? อุณหภูมิ? ความชื่น?

ในการทำงานหลายๆงาน ดินฟ้าอากาศส่งผลกับการทำงานมาก เช่นการถ่ายรายการกลางแจ้ง การทำสีชิ้นงาน การหล่อโมลด์  ซึ่งจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับเรื่องอุณหภูมิและความชื่นมาก ถ้าไม่เหมาะสม สีอาจไม่แห้ง แสงอาจไม่ได้ เราจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย


10. คนร่วมงาน?

เรามีคนช่วยน้อยเกินไปไหม? มากเกินไปไหม? อดัมค้นพบว่าการมีคนช่วยเยอะเกินไปอาจก่อให้เกินผลเสียมากพอๆกับคนน้อยเกินไปสภาพจิตใจเขาเป็นยังไง? มันดึกแล้วหรอยัง เราพยายามจะแก้ปัญหาในขณะที่พวกเขาทำงานเหนื่อยมาแล้วทั้งวัน หรือพวกเขายังสดชื่นอยู่?

11. เรามีทักษะที่จำเป็นแล้วหรือยัง? และเกี่ยวเนื่องกัน เรามีความเข้าใจจริงๆหรือไม่เกี่ยวกับระดับทักษะของเราที่กำลังจะใช้แก้ปัญหานั้น?

หลายครั้งเราอาจคิดว่าเราไม่มีทักษะที่จะแก้ปัญหาใดๆ แต่พอเอาเข้าจริงๆเรากลับทำมันได้ เช่นเดียวกันหลายครั้งเราคิดว่าเราทำได้ แต่เราก็ยังขาดทักษะบางอย่าง เพราะฉะนั้น คำถามสำคัญคือเรารู้หรือไม่ว่าระดับทักษะของเราอยู่ระดับไหน?

12. ถ้าเราไม่มีทักษะด้านนั้นๆเพียงพอ เรามีเวลาเรียนรู้เพิ่มหรือไม่? หรือเราต้องหาคนช่วยทำให้? และถ้าใช่ คนๆนั้นต้องใช้เวลาเท่าไหร?

นี่เป็นขั้นตอนที่เราสามารถกลับมาพัฒนาทีหลังได้ไหม?

ในการทำงานของอดัม เขาจะถามตัวเองซ้ำๆตลอดการทำงานว่า

13. ขั้นตอนนี้สำคัญแค่ไหน? ต้องทำถูกเป๊ะแค่ไหน? พลาดได้ไหม? หรือมีโอกาศแค่ครั้งเดียว?

เราจำเป็นต้องรู้ว่า เราใช้เวลาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆขนาดไหน เพราะเวลาที่เราใช้ในการเรียนรู้ในแต่ละคนก็ไม่เท่ากันจริงๆไหมครับ? (ถ้าคุณเป็นคนเรียนรู้ช้า ผมขอเพิ่มคำถามข้อหนึ่งเข้าไปด้วย นั่นคือ คุณจะสามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆให้เร็วขึ้นได้อย่างไรบ้าง?)

14. เราพลาดอะไรโง่ๆไปหรือเปล่า?

นี่เรากำลังทำตัวฉลาดไปหรือเปล่า? (อีกวิธีที่จะพูดว่า”เราพลาดอะไรโง่ๆไปหรือเปล่า?”)มันมีวิธีที่ง่ายกว่านี้หรือเปล่า? (อีกวิธีที่จะพูดว่า”เราพลาดอะไรโง่ๆไปหรือเปล่า?”)

15. เราแน่ใจหรือไม่ ว่างานของเราจะไปอยู่ในภาพรวมอย่างไร?

ในบางงาน เราอาจมองไม่เห็นภาพรวมๆของงานได้เราต้องค่อยๆทำ ลองผิดลองถูก จนเริ่มเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด

16. ตอนนี้ภาพรวมของงานเป็นอย่างไร ในเมื่อตอนนรี้เราแก้ปัญหาตรงนี้แล้ว?

เราต้องรู้ด้วยว่า ปัญหาที่เราได้แก้ไปแล้วส่งผลกับภาพรวมอย่างไร

17. แล้วเราเเหลือเวลาเท่าไหร?

เราต้องการตกแต่ง(ทำให้สวยเฉยๆ)อะไรงานหลังจากทำเสร็จหรือไม่ ต้องเผื้อเวลาทาสีอะไรไหม?

อดัมเล่าว่า คำถามเหล่านี้ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นเส้นตรงแต่เป็นกระบวนการที่มีการคิดกลับไปกลับมา ถามซ้ำไปซ้ำมา

ในสมัยที่เขาทำงานอยู่ใน  Industrial Light & Magic (ILM) เมื่อเขาทำงานไปได้ซักพัก มันจะมีจุดหนึ่งของทุกโปรเจค ที่เขาไม่รู้ว่าตอนนี้เขาทำอะไรอยู่ เนื่องจากเขาเป็นคนทำงานเร็วมาก เขาจะทำชิ้นงานเสร็จสองสามรอบก่อนจะทำจริงๆ เขาจะทำผิดแล้วทำใหม่ ทำผิดแล้วทำใหม่ ทำผิดแล้วทำใหม่ เขาแอบกลัวว่าจะมีใครมาตบไหล่เขาแล้วบอกว่า “ออกไปเถอะคุณไม่รู้เลยว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่” แต่เขาได้เรียนรู้ว่า นั่นคือส่วนหนึ่งของขั้นตอนการเรียนรู้ เขาต้องคอยบอกตัวเองวาที่คือขั้นตอนของการเรียนรู้ เพราะเมื่อมันถึงจุดนั้นทีไร เขาจะอดรู้สึกไม่ได้ว่าเขาไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ทุกครั้ง (ผมเข้าใจว่า มันเป็นความรู็สึกไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจว่าเราจะทำได้หรือไม่ งงๆ เบลอๆ เหี่ยวๆ) มันเป็นเรื่องจริงที่น่าทึ่งอย่างมาก ทุกครั้งที่เขาได้รับโจทย์แล้วมั่นใจว่า “ฉันรู้วิธีการทำสิ่งนี้!” เขาจะลงเอยด้วยการทำพังทุกที

และในทุกๆงานที่เขาทำเสร็จ มันไม่ได้มีช่วงเวลาที่เขาอยากจะกระโดดขึ้นฟ้าแล้วตะโกนว่า “เยส!” แต่มันมักจะจบลงด้วยความดีใจ ภูมิใจเงียบๆ บางครั้งมันรู้สึกเศร้านิดๆด้วยซ้ำที่งานนั้นจบลง แล้วเขาก็จะเริ่มถามตัวเองว่า เรายังทำมันได้ดีกว่านี้อีกไหมนะ? ไม่แน่เราอาจต้องทำเหมือนกันอีกสามชิ้นเผื่อมีคนรู้จักอยากได้

คำถามสำคัญคือ ปัญหา(โปรเจค)ต่อไปคืออะไร และมันจะต้องมีปัญหา(โปรเจค)ต่อไปเสมอๆ

ชมวีดีโอเต็มๆได้ด้านล่างนี้เลยครับ

MAKER

Industrial Designer / Maker
The “Master Maker”

“เราเลือกได้เสมอ
ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
หรือเป็นส่วนหนึงของทางแก้”

Share this

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest

เนื้อหาอื่นๆ

Precious Plastic

Precious Plastic : โครงการรีไซเคิลพลาสติกที่เท่ที่สุดในโลก

Movement ของเหล่า maker ที่พัฒนาเครื่องรีไซเคิลพลาสติกที่สามารถใช้ในบ้านหรือชุมชนได้ แจกแบบกันฟรีๆเพื่อให้สร้างประกอบใช้เอง

Read More »

แสดงความคิดเห็น